วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

ข้อมูลดีๆเรื่องโรคกระเพาะ

ข้อมูลดีๆเรื่องโรคกระเพาะ
โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

โรคกระเพาะ โรคที่หลาย ๆคนเป็นกันอยู่ แต่เราอาจมีความรู้เรื่องของโรค ตลอดจนวิธีการปฏิบัติตัว และแนวการรักษาที่ถูกต้องน้อยจนเกินไป วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ มานำเสนอให้สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อยู่ หรือคนที่มีความสนใจเรื่องของสุขภาพ
โรคกระเพาะคือ อะไร
โรคกระเพาะ มีชื่อเต็ม ๆ ว่า โรคแผลกระเพาะอาหาร แต่ส่วนใหญ่เราก็เรียกกันสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่าโรคกระเพาะ หรือ โรคกระเพาะอาหาร แต่โรคนี้ยังหมายถึง โรคแผลที่ลำไส้เล็ก โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคลำไส้อักเสบอีกด้วย
อาการของโรคกระเพาะอาหาร
มีอาการปวดหรือจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่ เวลาท้องว่างหรือหิว แต่บางคนก็อาจจะปวดมากขึ้นหลังรับประทานอาหารไปแล้ว ซึ่งวิธีนี้สามารถบรรเทาได้โดยการทานยาลดกรดในกระเพาะ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น
บางรายอาจมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ มานานนับปี โดยอาจมีอาการปวด 1 – 2 อาทิตย์ แล้วหายไปหลายเดือน แล้วก็กลับมาเป็นอีกครั้งหนึ่ง
หรือในบางรายอาจจะปวดแน่นกลางดึกหลังจากหลับไปแล้ว ซึ่งเป็นอาการที่ทรมานไม่น้อยเลยทีเดียว และรบกวนคุณภาพการนอนด้วย มีผลต่อระดับความเครียด และยังทำให้ร่างกายอ่อนล้า และอ่อนเพลียในระหว่างวันอีกด้วย
บางคนอาจกำเริบจากการกินยาแก้ปวด หรือยาแอสไพริน ทานอาหารผิดเวลา ดื่มกาแฟ หรือดื่มแอลกอฮอล์ ทานของมัน ๆทานอาหารรสจัด และอาหารย่อยยาก หรือเวลามีความเครียด
อาการที่ปรากฏชัดเลยก็คือ ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการปวดท้องแน่นท้อง ร่วมกับอาการท้องอึดด้วย  โดยจะปวดบริเวณลิ้นปี่ หรือ บริเวณรอบ ๆ สะดือ รับประทานอาหารเสร็จ เนื่องจากมีลมในกระเพาะอาหารมาก ต้องผายลมหรือเรออาการถึงจะดีขึ้น ในบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
ในผู้ป่วยบางรายแม้จะเป็นมาเรื้อรังเป็นปี แต่สุขภาพก็ไม่ทรุดโทรมน้ำหนักไม่ลด แต่ในบางคนก็มีอาการแทรกซ้อนเช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเหลวเหนียวเป็นสีดำ หน้ามืด วิงเวียน ศีรษะ มีอาการอ่อนเพลียร่วมด้วย
วิธีป้องกันโรคกระเพาะสำหรับคนที่ไม่อยากปวดท้องหรือไม่อยากกลับมาเป็นซ้ำอีก ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกัน
โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ


·       รับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้น้อย แต่บ่อยครั้ง ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีก็คือ ทำให้กระเพาะไม่ต้องรับภาระในการย่อยอาหารมากจนเกินไป และช่วยไม่ให้มีกรดในกระเพาะอาหารมากจนเกินไปด้วย
·       รับประทานอาหารให้ตรงเวลา หากหิวควรดื่มน้ำ หรือหาอะไรทานรองท้องไปก่อนก็ได้ เพราะว่าหากเราไม่รับประทานอาหารตามเวลาปกติ กระเพาะก็จะปล่อยน้ำย่อยออกมาจำนวนหนึ่งเพื่อมาย่อยอาหาร หากกระเพาะยังว่างอยู่น้ำย่อยในกระเพาะก็จะทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการดูแลรักษาสุขภาพ ไม่ใช่การเป็นโรคแล้วมาหาวิธีรักษากันทีหลัง  โรคกระเพาะก็เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตที่ผิดนั้นเอง หากเรานำวิธีการปฏิบัติตัวตามข้อมูลที่แนะนำไว้นี้ เชื่อว่าจะทำให้ตัวเราและคนใกล้ตัวของเราห่างไกลจากโรคนี้อย่างแน่นอน


วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

โรคกระเพาะเกิดจากสาเหตุอะไร

โรคกระเพาะเกิดจากสาเหตุอะไร
โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

            อาการแบบไหนที่เรียกว่า โรคกระเพาะ เพราะอาการปวดท้องในแต่ละครั้งก็ไม่ได้บอกว่าเป็นโรคกระเพาะซักหน่อย เราลองมาทำความเข้าใจถึงอาการของโรคนี้ว่ามีลักษณะแบบไหน เพื่อตรวจสอบอาการของคุณเอง
            โรคกระเพาะนั้นเกิดจากในกระเพาะของเรานั้นมีกรดมากจนเกินไปนั้นเอง ทำให้เยื้อบุในกระเพาะอาหารเกิดการระคายเคือง จนทำให้เกิดแผลในกระเพาะ ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวด จุก เสียด ท้อง
            สาเหตุของโรคกระเพาะนั้น ไม่สามารถบอกแน่ชัดได้ว่าเกิดจากอะไร เพราะมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะ
โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

            อาการของโรคกระเพาะ
Ø ปวดหรือจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่ ซึ่งอาการนี้จะเป็นบ่อย ๆ ในเวลาที่ท้องว่างหรือหิวมาก ๆ นั้นเอง ซึ่งเกิดจากกระเพาะหลังน้ำย่อยออกมาแล้วไม่มีอาหารอยู่ในกระเพาะนั้นเอง
Ø อาการปวดแน่นหลังจากรับประทานอาหารมื้อหลักเสร็จแล้ว โดยเฉพาะถ้าอาหารในมื้อนั้นเป็นอาหารรสจัด เช่น อาหารเปรี้ยวจัด อาหารเผ็ดจัด ซึ่งเราสามารถบรรเทาอาการปวดแสบได้ไม่ยาก โดยการกินยาลดกรดในกระเพาะอาหารก็จะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ให้ดีขึ้น
Ø อาการปวดมักจะเป็น ๆ หาย เช่น บางคนอาจปวดอยู่ซัก 1– 2 สัปดาห์ แล้วหายไปหลายเดือนแล้วก็กลับมาเป็นอีก
การปฏิบัติตัว
·       รับประทานอาหารที่ย่อยง่ายเมื่ออาการกำเริบ ทานอาหารให้ตรงเวลา ลดอาหารรสจัด เปรี้ยวจัดเผ็ดจัด งดเว้นการดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด งดการสูบบุหรี่ ของหมักของดอง
·       งดการใช้ยาแก้ปวด เช่น ยาแอสไพริน หรือ ยาบรรเทาอาการอักเสบทุกชนิด ให้มีความจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มนี้ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ทุกครั้ง
·       ผ่อนคลายความเครียด เพื่อลดความวิตกกังวล และพักผ่อนให้เพียงพอ
·       รับประทานยาลดกรด หรือ ยาสมานแผลในกระเพาะติดต่อกันเป็นเวลา 4 – 8 สัปดาห์ ติดต่อกันซึ่งจะทำให้อาการหายขาดได้ หรือในกรณีที่แพทย์ตรวจแพทย์เชื้อแบคทีเรีย ก็จะให้ยาทานยากำจัดแบคทีเรียด้วย
·       หากมีอาการแทรกซ้อนควรไปพบแพทย์ด่วน เช่น เบื่ออาหาร ปวดท้องมาก น้ำหนักเลือด ถ่ายเป็นเลือด ซึ่งหากคุณมีอาการเหล่านี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ
โรคกระเพาะเป็นโรคที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก ดังนั้นการทำความเข้าใจถึงอาการของโรค รวมทั้งการสนใจและใส่ใจดูแลสุขภาพ แสวงหาแนวทางรักษาที่ถูกต้อง ก็จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคนี้มากขึ้น


            

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

โรคกระเพาะโรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน

โรคกระเพาะโรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน
โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

โรคกระเพาะโรคยอดฮิตของคนยุคนี้เลย ไม่ว่าจะเป็นหนุ่มสาวหรือวัยทำงาน ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น เพราะชีวิตที่ต้องรีบเร่งแข่งกับเวลาและการทำงานหนัก เป็นสาเหตุของความเครียด ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพมากมาย เราลองมาทำความรู้จักกับโรคกระเพาะอาหารกัน
            การทานอาหารไม่ตรงเวลา ทำให้เกิดอาการปวดท้อง แล้วปวดท้องแบบไหนละที่ใช่โรคกระเพาะ เราลองมาเช็คกันดูดีกว่าว่าปวดท้องแบบไหนที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคกระเพาะอาหารหรือเปล่า
            โรคกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร
            โรคกระเพาะ มีชื่อเต็ม ๆ ว่า โรคแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งจริง ๆ แล้วก็เกิดจากสุขภาพที่ไม่ค่อยแข็งแรง ทำให้ระบบภูมิคุ้นกันของร่างกายอ่อนแอลง ทำให้ระบบป้องกันกรดในกระเพาะอาหารและแบคทีเรีย ทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือ บางครั้งอาจจะเกิดจากภาวะความเครียดจากสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันทำให้ร่างกายผลิตกรดในกระเพาะอาหารมากจนเกินไป และอีกหนึ่งสามารถเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ขาดสมดุล เช่น กินอาหารไม่ตรงเวลา กินมื้อข้ามมื้อ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้สุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะอาหารอย่างมาก
            นอกจากนี้ยังเกิดจากการทำงานของกระเพาะอาหารที่ผิดปกติ แม้จะไม่มีความผิดปกติภายในกระเพาะอาหารเลย เช่น เกิดจากการบีบตัวที่ไม่สอดกันของระบบลำไส้ หรือ การมีภาวะกรดเกินในกระเพาะอาหาร แต่ไม่มีแผลในกระเพาะอาหาร
            อาการที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคกระเพาะ
·       อาการปวด จุก เสียด แน่นบริเวณกลางสะดือ หรือ บริเวณลิ้นปี่ โดยอาจจะมีอาการปวดแบบฉับพลันหรือเป็น ๆ หาย ๆ ก็ได้
·       อาการปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ มักจะเกิดจากการทานอาหารรสจัด รสเปรี้ยว รสเผ็ดจัด ซึ่งเป็นอาการที่ไม่ปวดมาก พอทนได้ สามารถบรรเทาอาการได้โดยการทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
·       ปวดแน่นหน้าอกกลางดึกหลังจากหลับไปแล้ว ซึ่งเป็นอาการที่ผู้ป่วยต้องทนทรมานเสียทั้งสุขภาพกายสุขภาพใจ และก่อให้เกิดความเครียดในระยะยาวอีกด้วย
·       ปวดท้องอย่างรุนแรงและฉับพลัน ร่วมด้วยกับการถ่ายเป็นเลือด หรือ อาเจียนเป็นเลือด

โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

โรคกระเพาะอาจไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็สร้างปัญหาสุขภาพได้อย่างมากมาย ก็ให้เกิดความทุกทรมานได้ทั้งตัวคนไข้เอง และผู้คนรอบข้าง ดังนั้นหากมีอาการเหล่านั้นแล้วควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย เพื่อจะนำไปสู่วิธีการรักษาที่ถูกต้อง



            

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

โรคกระเพาะเกิดจากอะไร

โรคกระเพาะเกิดจากอะไร
โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

            หลาย ๆ คนคงเคยมีอาการปวดท้อง แต่อาการปวดท้องก็ไม่ได้บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคกระเพาะ  วันนี้เราจะมีทำความเข้าใจ สาเหตุและอาการของโรคนี้ พร้อมทั้งวิธีการรักษาและการปฏิบัติตัวด้วย
            โรคกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร
            โรคกระเพาะอาหารเกิดจาก สภาวะของการมีกรดเกินในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการระคายเคืองเยื้อบุกระเพาะอาหาร และมีแผลในกระเพาะอาหาร
โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

            สาเหตุของโรคกระเพาะ
·       แผลจากกระเพาะอาหารนั้นเกิดจากการใช้ยาบางชนิด โดยยากลุ่มนี้ได้แก้ยาแก้ปวด หรือยาบรรเทาอาการอักเสบ หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก็จะทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร และนำไปสู่การเป็นแผลในกระเพาะอาหาร
·       การจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งได้รับจากการรับประทานอาหารเข้าไป โดยเชื้อแบคทีเรียตัวนี้จะไปอาศัยอยู่ในชั้นเคลือบของลำไส้ และปล่อยสารพิษออกมาซึ่งทำให้เยื้อบุกระเพาะเกิดการะคายเคือง และเป็นแผลในที่สุด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคแผลในกระเพาะอาหารเลยทีเดียว
วิธีการรักษา
Ø ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัย ซึ่งโดยทั่วไป แพทย์จะซักถามประวัติทั่วไป และตรวจสุขภาพ หลังจากแพทย์ระบุว่าเป็นโรคกระเพาะ  แพทย์ก็จะสั่งจ่ายยาลดกรดในกระเพาะอาหาร หรือยาสมานแผลในกระเพาะอาหาร โดยให้รับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 –8 อาทิตย์ อาการก็จะหายขาด ส่วนในกรณีที่ตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย จากการส่องกล้องเข้าไปเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร ก็จะได้รับยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
การรักษาโรคกระเพาะให้หายขาดไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่เราเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง ขอเพียงแค่เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้เหมาะสม ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด เท่านี้เราจะมีพลามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้แล้ว