วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สัญญาณของโรคกระเพาะ
โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ
        หลายคนอาจเคยสงสัยว่า ทานข้าวตรงเวลาแต่ยังเป็นโรคกระเพาะ อยู่ โรคกระเพาะ หรือโรคแผลในกระเพาะอาหารนั้น มีปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลากหลายสาเหตุมาก ดังนั้นเราไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรคือ สาเหตุหลักของการเกิดโรค
            สัญญาณบอกโรค
            สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคกระเพาะนั้นสังเกตง่าย ๆ เช่น มีอาการปวด จุก เสียดท้อง เวลาท้องว่าง หรือ หิวจัด หรือในบางรายอาจมีอาการปวดหลังจากทานอิ่มแล้ว โดยเฉพาะอาหารที่มีรสจัด เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด บางคนอาจมีอาการปวดท้องตอนกลางคืน ซึ่งหากคุณกำลังมีอาการเหล่านี้อยู่แสดงว่าคุณเริ่มเป็นโรคกระเพาะแล้วละ
            สาเหตุของการเกิดโรค
โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

            แม้ว่าการทานอาหารตรงตามเวลา จะเป็นวิธีการป้องกันโรคกระเพาะเป็นอย่างดี แต่สาเหตุของโรคกระเพาะมีมากกว่านั้นอีก เช่น
·       การหลั่งของกรดในกระเพาะที่มีมากจนเกินไป จนทำให้เกิดการระคายเคือง และทำให้เกิดแผลในกระเพาะ อาจเกิดจากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด การสูบบุหรี่ ภาวะความเครียด สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลกระตุ้นให้กระเพราะอาหารหลั่งกรดออกมามากจนเกินไป
·       การทานอาหารที่ย่อยยาก หรือ การเคี้ยวอาหารที่ไม่ละเอียด ทำให้กระเพาะต้องรับภาระหนักในการย่อย ดังนั้นกระเพาะก็ต้องหลั่งน้ำย่อยออกมาจำนวนมาก เพื่อย่อยอาหารชิ้นใหญ่เหล่านั้น ก่อให้เกิดภาวะมีกรดมากจนเกินไปในกระเพาะอาหาร
·       การทานยาบางประเภทมีผลต่อการระคายเคืองในกระเพาะอาหารเช่น ยาแก้ปวด หรือ ยาบรรเทาอาการอักเสบบางชนิด

สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะ
            กล้วย ในเนื้อและในเปลือกกล้วยมีสารเซเรโทนิน ซึ่งสารตัวนี้มีผลในการยับยั้งการหลั่งของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้เล็ก ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร ทำให้ระบายได้
            หลังจากอ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเริ่มตระหนัก และเริ่มใส่ใจ เห็นความสำคัญของโรคนี้มากขึ้น เพราะหากเราเริ่มต้นศึกษาอาการของโรคกระเพาะ แนวทางการรักษาและได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง จะช่วยให้โรคกระเพาะ ที่เป็นอยู่หายขาดได้


วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ทำความรู้จักโรคกระเพาะ

ทำความรู้จักโรคกระเพาะ
โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

        โรคกระเพาะ มีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า โรคกระเพาะอาหารมีคนเป็นโรคนี้อย่างมากมายในสังคม เพราะเราให้ความสนใจดูแลสุขภาพเราน้อยเกินไป หลาย ๆ คนยังคิดว่าเรื่องอาหารการกินเป็นเรื่องที่ไม่ต้องให้ความสนใจมาก อีกทั้งนิสัยการดื่มเหล้าการสูบบุหรี่ก็ยังก่อให้เกิดโรคนี้ได้อีกด้วย เรามาทำความเข้าใจ และสาเหตุของโรคกัน
            โรคกระเพาะอาหาร นั้นไม่ได้มีความหมายแค่โรคกระเพาะอาหารอย่างเดียว ยังหมายรวมถึง โรคลำไส้อักเสบ โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคลำไส้แปรปรวน แผลในลำไส้เล็ก

สาเหตุของการเกิดโรคเกิดจากหลายสาเหตุ
·       เกิดจากการใช้ยาบางชนิดเป็นเวลายาวนานมากกว่ากำหนด ซึ่งยาประเภทนี้ได้แก่ ยาแก้ปวด หรือยาบรรเทาอาการอักเสบ ที่มีขายอยู่ทั่วไปซึ่งฤทธิ์ยาเหล่านี้มีผลทำให้เกิดการระคายเคืองของกระเพราะอาหารและทำให้กระเพาะอาหารเป็นแผล ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคกระเพาะอาหาร
·       การติดใช้แบคทีเรีย โดยการรับจากการรับประทานอาหารเข้าไป ซึ่งเจ้าเชื้อแบคทีเรียตัวนี้มีชื่อว่า “เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโรไล(Helicobacter pylori) หรือ เอชไพโรไล(H. Pylori) ซึ่งเจ้าเชื้อนี้จะไปอาศัยอยู่ในเมือกที่ปกคลุมผิวในกระเพาะอาหารนั้นเอง และจะผลิตสารพิษทำให้เยื้อบุอาหารอักเสบ และทำให้เกิดแผลในกระเพาะในไปสู่การเป็นโรคกระเพาะอาหาร
โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ


โรคกระเพาะโดยหลัก ๆ แล้วแบ่งเป็น ประเภทใหญ่ ๆ คือ
Ø โรคกระเพาะ แบบไม่มีแผล  ซึ่งแบบแรกนี้ไม่ค่อยน่าเป็นห่วงมากเท่าไหร่ ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะประเภทแรกนี้อาจมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ แล้วอาการทุกข์ทรมานก็มีไม่มากเท่าไหร่เป็นอาการที่สามารถทนได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว จะมีอาการปวด เสียดท้อง ตอนท้องว่าง หรือตอนหิว บางรายอาจมีอาการปวดหลังจากทานอิ่มแล้ว
Ø    โรคกระเพาะ อาหารแบบมีแผล เกิดขึ้นโดยตรงจากการรับประทานอาหาร เช่น การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา การทานอาหารรสจัดเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ทุกชนิด ความเครียด กาแฟ และ สภาวะที่มีกรดมากเกินไปในกระเพาะอาหาร          


หลังจากที่เราได้ทำความเข้าใจในเรื่องของโรคกระเพาะ อาหาร ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคแล้ว รวมทั้งพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ ก็จะทำให้เราสามารถปฏิบัติตัวเพื่อการมีสุขภาพที่ดีห่างไกลจากการโรคนี้ หรือในรายที่เป็นอยู่แล้ว ก็จะมีส่วนช่วยให้อาการของโรคดีขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ปวดท้องแบบไหนใช่โรคกระเพาะ

ปวดท้องแบบไหนใช่โรคกระเพาะ
โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

                โรคกระเพาะหรือ โรคกระเพาะอาหารอักเสบนั้น นับเป็นโรคยอดฮิตของคนในยุคปัจจุบันกันเลย เนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป การทำงานที่ต้องประสบกับความเครียด อีกทั้งความรับเร่งในชีวิตประจำวัน ทำให้หลาย ๆ ลืมใส่ใจในเรื่องของการกิน เมื่อเรามีอาการปวดท้องเราจึงคิดว่าเราเป็นโรคกระเพาะทันที
            หลายคงคุ้นเคยกับอาการปวดท้องเป็นอย่างดี ทั้ง จุก เสียด แน่นท้อง มีลมในกระเพาะ หรือปวดเบา ๆ อาการเหล่านี้ส่งสัญญาณต่อปัญหาสุขภาพ ได้หลายประการ

ปวดท้องแบบไหนที่ใช่โรคกระเพาะ
·       การปวดท้องแบบฉับพลันทั้งที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยรู้สึกปวด เสียด เจ็บ แน่น บริเวณเหนือสะดือ หรือบริเวณลิ้นปี่ โดยอาจเป็นการเจ็บปวดแบบฉับพลันหรือเรื้อรังซึ่งอาจจะต้องไปให้แพทย์วินิจฉัยอาการของโรค
·       การปวดแบบเรื้อรัง เป็นอาการปวดที่เป็นมามากว่า เดือน เป็นอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ ไม่เจ็บมากพอทนได้ ซึ้งอาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้น หลังจากที่ทานอาหารอิ่ม หรือ ในขณะที่หิว โดยปกติเมื่อทานยาลดกรดแล้วจะทำให้อาการที่เป็นอยู่ดีขึ้น

โรคในกระเพาะอาหารที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดแบบเรื้อรัง
            โดยสามารถแบ่งโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของกระเพาะอาหาร เช่น เป็นแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ หรือมะเร็งในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังเกิดโรคกระเพาะอาหารได้แม้ไม่มีความผิดปกติทางกายภาพเลย แต่อาจจะเกิดจากความผิดปกติของการทำงานของระบบลำไส้ เช่น มีกรดในกระเพาะมากจนเกินไป แต่ไม่ทำให้เกิดแผลในลำไส้ หรือการบีบตัวของลำไส้ที่ทำงานไม่ประสานกัน
            แต่ยังไงก็ตามการมีกรดในกระเพาะอาหารมากจนเกินไป ก็ไม่จำเป็นต้องปวดท้องเสมอไป เช่น ผู้ป่วยมากรายอาจอาเจียนเป็นเลือด หรือหรือถ่ายอุจระดำ ซึ่งอาการเหล่านี้มาจากการมีกรดที่มากเกินไปในกระเพาะอาหาร หรือบางคน อาจมีอาการ แสบ แน่นที่หน้าอกเนื่องจากกรดไหลย้อน หรือ ไอ เพราะอักเสบขึ้นมาถึงคอ อาการเหล่านี้ล้วนเกิดจากโรคกระเพาะทั้งสิ้น


การวินิจฉัย
            อาการปวดท้องเรื้อรังนั้น การวินัจฉัย จะใช้วิธีการซักถามประวัติโดยทั่วไป ร่วมด้วยกับการตรวจร่างกาย หากต้องมีการตรวจเพิ่มเติม วิธีที่ดูที่สุดก็คือการ ส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร เพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย แล้วนำชิ้นเนื้อไปตรวจ ซึ่งวิธีนี้สะดวกมาก และทำเพียงแค่ครั้งเดียว
            ซึ่งปัจจุบันนั้นวิธีส่องกล้องเปิดวิธีที่ยอดนิยมมาก เพราะใช้เวลาเพียง นาทีเท่านั้น โดยแพทย์จะให้ยาสลบระยะสั้น แล้วสอดกล้องขนาดเล็กผ่านทางปากลงสู่ระบบทางเดินอาหาร วิธีนี้จะทำให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของโรค ทำให้การวางแผนการรักษาเป็นไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ
การรักษาโรคกระเพาะ และการป้องกัน
            โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารอักเสบนั้น หากไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียแล้ว โดยทั่ว ๆ ไป แพทย์จะให้ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เพื่อจะช่วยให้กระเพาะสมานแผลได้ดียิ่งขึ้น และให้ยาในกลุ่มป้องกันเนื้อยากระเพาะอาหาร โดยสามารถรักษาให้หายขาดด้วยการทานยาติดต่อกันเป็นเวลา สัปดาห์

            สำหรับหลาย ๆ ที่เป็นโรคกระเพาะ หรือมีคนรู้จักเป็นโรคนี้อยู่ ท่านสามารถใช้ความรู้ในชุดเพื่อไปแนะนำแนวทางปฏิบัติ เพื่อเป็นแนวทางในการไปรับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ตัวท่านและบุคคลใกล้ชิดของท่าน ได้มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง ตลอดไป





วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคกระเพาะ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคกระเพาะ
โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

          โรคกระเพาะเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาและในบางรายอาจะเป็นเป็นหายนะของชีวิตไปเลย เราลองมาทำความเข้าใจในเรื่องของโรคกระเพาะ ให้เข้าใจกันเลย เพื่อจะนำหลักวิธีคิดที่ถูกต้องไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับตนเอง และคนที่คุณรัก
            คุณมีแผลในกระเพาะหรือเปล่า หลาย ๆ คนคงเคยมีอาการปวดท้อง ไม่ว่าจะมาจากการทานอาหารรสจัด ทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือ บางคนก็มีอาการจุกเสียด เป็น ๆ หาย ๆ ในช่วงที่เริ่มหิว และทานอิ่มมากจนเกินไป บางรายก็เป็นเรื้อรังก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตตามมาอีกด้วย
            บางคนอาจจะมีอาการปวดท้องโดยไม่มีสาเหตุทั้งที่อาจทานข้าวตรงเวลาอยู่แล้ว แต่อาการปวดท้อง ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นโรคกระเพาะและโรคกระเพาะก็ไม่ได้มีแค่อาการปวดท้องด้วย
            โรคกระเพาะอาหารหรือ โรคแผลในกระเพาะอาหาร เพราะอาการปวดท้องที่เป็นมักมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการรับประทานอาหาร ทั้งนี้โรคกระเพาะอาหารยังรวมไปทั้ง โรคลำไส้อักเสบ โรคแผลที่ลำไส้เล็ก โรคกระเพาะอาหารอักเสบ อีกด้วย
            ส่วนแผลในกระเพาะอาหารนั้นเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลัก ๆ แล้วเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารที่มีมากจนเกินไปทำให้เกิดการระคายเคืองของเยื้อบุกระเพาะอาหาร และพฤติกรรมที่ก่อให้เกิด เช่น การรับทานอาหารไม่เป็นเวลา การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การใช้ยาลดการอักเสบ หรือยาแก้ปวดเป็นระยะเวลานาน ซึ่งตัวยาเหล่านี้ส่วนในการทำให้เกิดแผลในกระเพาะและลำไส้ และในปัจจุบันนี้ยังพบว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในชั้นเมือกที่ปกคลุมกระเพาะอาหารไว้และมีส่วนสำคัญมากที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

อาการของโรคกระเพาะอาหาร

·       จะมีอาการจุกหรือแน่นบริเวณลิ้นปี่ เป็นอาการที่พบบ่อย จะเกิดขึ้นในเวลาที่หิวหรือท้องว่าง
·       มีอาการปวดหลังรับทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารรสจัด อาหารเผ็ดจัด อาหารเปรียวจัด ซึ่งสามารถบรรเทาอาการด้วยยาลดกรด
·       อาการปวดแบบเป็น ๆ หาย อาจมีช่วงเวลาที่ปวดอยู่ 1 –2 อาทิตย์ แล้วหายไปเลยเป็นหลายเดือน แล้วกลับมาปวดอีกครั้งหนึ่ง
แนวทางการรักษา และปฏิบัติตัว
            สาเหตุอย่างหนึ่งของกระเพาะอาหาร ก็เกิดจากอาหารที่เรารับทานเข้าไปนั้นเอง ดังนั้นวิธีการปฏิบัติตัวก็คือการปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหารให้ดีขึ้นในเองในช่วงที่ โรคกระเพาะอาหารกำเริบ
·       หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร รสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด น้ำอัดลม กาแฟ ของมัน ของทอด
·       งดการสูบบุหรี่ และสุรา ของมึนเมาทุกชนิด
·       งดการใช้ยาลดการอักเสบ และยาแก้ปวดทุกชนิดในช่วงนี้ หากมีความจำต้องต้องใช้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
·       ผ่อนคลายความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ
·       ทานยาลดกรด หรือยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นระยะเวลา 4-8 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย รวมทั้งยากำจัดแบคทีเรียในกระเพาะ ในกรณีที่ไปพบแพทย์แล้วตรวจพบเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร
การทำความเข้าใจโรคกระเพาะ อาหาร แนววิธีการรักษา คงจะทำให้หลาย ๆคนเลิกหวาดกลัว และทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ได้ตระหนัก  และสามารถนำแนวทางวิธีการปฏิบัติตัวและการรักษา  เพื่อในไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง



วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อาการและโรคกระเพาะแต่ละประเภท



โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

โรคกระเพาะ หรือ โรคกระเพาะอาหารนั้น มีอาการของเป็นยังไง มีกี่ประเภท เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาหายไหม วันนี้เรามีคำตอบให้
            โรคกระเพาะอาหารนั้นเกิดจากในกระเพาะอาหารของเรามีกรดมากจนเกินไปจนทำให้เกิดการะคายเคืองของเยื้อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและก่อให้เกิด อาการปวดท้อง จุก เสียด
            โรคกระเพาะแบ่งออกเป็น ชนิด
1.      โรคกระเพาะแบบไม่มีแผล มักจะมีอาการเป็น ๆ หาย ไม่เจ็บมากพอทนได้ โดยปกติอาการมักจะกำเริบเวลาที่ท้องว่าง หรือ ในขณะที่หิว
2.      โรคกระเพาะแบบมีแผล เกิดจากการใช้ยาบรรเทาอาการอักเสบ หรือ ยาแก้ปวด เป็นเวลานาน จนทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และยังเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งเจ้าเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะไปอาศัยอยู่ในชั้นเมือกของกระเพาะอาหาร
โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

แนวทางการรักษา
v ไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย หากแพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคกระเพาะจริง ก็จะใช้การรักษาโดยการให้ทานยาลดกรด หรือ ยาสมานแผลในกระเพาะ เป็นระยะเวลา 4-8 สัปดาห์ โดยควรทานยาติดต่อกันตามที่แพทย์แนะนำ ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้
v ในกรณีทีตรวจพบจากการส่องกล้องเข้าไปในทางเดินอาหารแล้วพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียอยู่ แพทย์ก็จะให้ยากำจัดเชื้อแบคทีเรีย


แนวทางการปฏิบัติตัว
เมื่อมีอาการกำเริบของโรคกระเพาะ ให้ทำสิ่งดั่งต่อไปนี้ งดทานอาหารรสจัด ทานอาหารที่ย่อยง่าย งดการสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์
โรคกระเพาะ เป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด ดังนั้นเราควรให้ความสนใจและใส่ใจ และตระหนักรู้ด้วยว่า สุขภาพร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งแนวทางการปฏิบัติตนที่ดี ยังช่วยป้องกันให้เราห่างไกลจากการเป็นโรคนี้ อีกทั้งยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปแนะนำคนใกล้ชิดที่กำลังทุกข์ทรมานจากโรคนี้อยู่



วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รู้ทันโรคกระเพาะ โรคนี้อันตรายกว่าที่คิด

รู้ทันโรคกระเพาะ โรคนี้อันตรายกว่าที่คิด
โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

        เรารู้จักโรคกระเพาะ ดีแค่ไหน หลาย ๆ คนที่เป็นโรคนี้อยู่คงรู้ว่ามันทรมานแค่หนัก แต่จะมีสักกี่คนที่มีความรู้เรื่องของโรคกระเพาะ และวิธีการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคนี้ หรืออะไรกันแน่ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ เราลองมาดูเข้ามูลที่จะนำเสนอดังต่อไปนี้
            โรคกระเพาะ
การของโรคกระเพาะนั้นเกิดจากการที่เรามีกรดในกระเพาะมากจนเกินไปนั้นเอง แต่ไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างแน่นอนว่า โรคกระเพาะที่เราเป็นอยู่นั้นเกิดจากสาเหตุอะไร โรคกระเพาะมือชื่อเต็ม ๆ ว่า โรคกระเพาะอาหาร ซึ่งโรคนี้ไม่ได้มีแค่โรคกระเพาะตัวเดียวเท่านั้น ยังหมายถึง โรคลำไส้อักเสบ โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคแผลในลำไส้เล็ก ซึ่งเราจะเรียกรวม ๆ กันว่าโรคกระเพาะ หรือ โรคกระเพาะอาหารนั้นเอง
            โรคกระเพาะเกิดจากอะไร
            โรคกระเพาะนั้น เกิดจากในกระเพาะอาหารของเรามีกรดมากจนเกินไป ทำให้เกิดการระคายเคืองของเยื้อบุในกระเพาะอาหาร ทำให้ตัวผู้ป่วย มีอาการ ปวด จุก เสียด แน่นท้อง ก่อให้เกิดความรำคาญ และ ความไม่สะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน
            สิ่งที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะ
1.      การใช้ยาแก้ปวด หรือ ยาบรรเทาอาการอักเสบเป็นเวลานานเกินไป จนทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร ซึ่ง ฤทธิ์ยาต่อไปนี้มีผลทำให้กระเพาะอาหารเป็นแผล
2.      เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่ติดมากับอาหารที่เรารับประทานเข้าไป โดยเจ้าแบคทีเรียตัวนี้จะไปอาศัยอยู่ในชั้นเคลือบของกระเพาะอาหารอีกทีหนึ่ง แล้วปล่อยสารพิษออกมา ทำให้เยื้อบุกระเพาะอาหารเกิดการระคายเคือง แล้วทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
3.      โรคกระเพาะแบบไม่มีแผลนั้นเกิดจากพฤติกรรมของเราเอง ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ทานอาหารไม่เป็นเวลา ทานอาหารรสจัด เปรี้ยวจัดเผ็ดจัด การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด

โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

แนวทางการรักษาโรค
            สามารถไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย โดยวิธีการรักษา แพทย์ก็จะสอบถามประวัติ รวมทั้งการตรวจสุขภาพทั่วไป เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคกระเพาะ แล้ว ก็จะทำการให้ยาลดกรด หรือ ยาสมานแผลในกระเพาะอาหาร ให้ทานติดต่อกันเป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ และให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในกรณีที่ตรวจพบเชื้อจากการส่องกล้องทางเดินอาหาร
            โรคกระเพาะ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่ใคร ๆ คิดเลย อีกทั้งวิธีการรักษา ก็ไม่ได้ยุ่งยากและเจ็บตัว และโรคนี้ยังสามารถรักษาให้หายขาดได้ในระยะเวลาอันสั้นด้วย แต่สิ่งที่ดียิ่งกว่านั้นคือการดูแลรักษาสุขภาพ ใส่ใจอาหารการกิน ลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ
           




วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สาเหตุของโรคกระเพาะ และการรักษา

          โรคกระเพาะ คือ อะไร โรคกระเพาะคือ อาการที่มีกรดในกระเพาะมากจนเกินไป โดยโรคนี้ยังรวมถึงโรคลำไส้แปรปรวน โรคแผลในลำไส้ โรคแผลในลำไส้เล็ก ดังนั้นโรคกระเพาะจึงกินความหมายมากกว่าที่เราคิด และมีหลาย ๆ อย่างที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับโรคกระเพาะ
โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

            โรคกระเพาะ เกิดจากอะไร
v สาเหตุแรกเกิดจากวิถีชีวิตของตัวเราเอง นิสัยการกินที่ไม่ดี เช่น กินอาหารไม่เป็นเวลา กินอาหารรสจัด สูบบุหรี่ ดื่มสุรา แอลกอฮอล์ ทุกชนิด ความเครียด
โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

v สาเหตุที่สองเกิดจากการที่เราใช้ยาแก้ปวด และยาบรรเทาอาการอักเสบ เป็นระยะเวลานานมากจนเกินไป ในตัวยาเหล่านี้จะมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนกระเพาะอาหาร ทำให้เยื้อบุกระเพาะอาหารระคายเคือง และทำให้เกิดขึ้นแผลในกระเพาะอาหาร
v สาเหตุที่สาม ได้รับเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในทางเดินอาหาร โดยได้รับเชื้อโดยตรงมาจากอาหารที่รับประทาน ซึ่งเจ้าเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ก็จะฝังตัวอยู่ในชั้นเคลือบของกระเพาะอาหาร โดยตัวมันก็จะผลิตด่างออกมาบริเวณรอบ ๆ และก็ผลิตสารพิษออกมากด้วย ซึ่งสารพิษที่มันผลิตออกมีจะทำให้เยื้อบุกระเพาะอาหารอักเสบ และเป็นแผลในที่สุด อันนี้เป็นสาเหตุหลักของกระเพาะอาหาร
การรักษาด้วยยาสมุนไพร
            ประเทศไทยเรามีสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคหลากหลายชนิด ซึ่งหนึ่งในสมุนไพรที่เราใช้ในครัวบ่อย ๆ นั้น ก็คือ ขมิ้นชั้นนั้นเอง
            ขมิ้นชัน ซึ่งน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชันนั้นมีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการปวดท้อง ขับลม จุก เสียด แน่น ซึ่งนิยมนำมาสมานแผลในกระเพาะ และรักษาโรคลำไส้ และทำความสะอาดลำไส้