วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคกระเพาะ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคกระเพาะ
โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

          โรคกระเพาะเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาและในบางรายอาจะเป็นเป็นหายนะของชีวิตไปเลย เราลองมาทำความเข้าใจในเรื่องของโรคกระเพาะ ให้เข้าใจกันเลย เพื่อจะนำหลักวิธีคิดที่ถูกต้องไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับตนเอง และคนที่คุณรัก
            คุณมีแผลในกระเพาะหรือเปล่า หลาย ๆ คนคงเคยมีอาการปวดท้อง ไม่ว่าจะมาจากการทานอาหารรสจัด ทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือ บางคนก็มีอาการจุกเสียด เป็น ๆ หาย ๆ ในช่วงที่เริ่มหิว และทานอิ่มมากจนเกินไป บางรายก็เป็นเรื้อรังก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตตามมาอีกด้วย
            บางคนอาจจะมีอาการปวดท้องโดยไม่มีสาเหตุทั้งที่อาจทานข้าวตรงเวลาอยู่แล้ว แต่อาการปวดท้อง ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นโรคกระเพาะและโรคกระเพาะก็ไม่ได้มีแค่อาการปวดท้องด้วย
            โรคกระเพาะอาหารหรือ โรคแผลในกระเพาะอาหาร เพราะอาการปวดท้องที่เป็นมักมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการรับประทานอาหาร ทั้งนี้โรคกระเพาะอาหารยังรวมไปทั้ง โรคลำไส้อักเสบ โรคแผลที่ลำไส้เล็ก โรคกระเพาะอาหารอักเสบ อีกด้วย
            ส่วนแผลในกระเพาะอาหารนั้นเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลัก ๆ แล้วเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารที่มีมากจนเกินไปทำให้เกิดการระคายเคืองของเยื้อบุกระเพาะอาหาร และพฤติกรรมที่ก่อให้เกิด เช่น การรับทานอาหารไม่เป็นเวลา การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การใช้ยาลดการอักเสบ หรือยาแก้ปวดเป็นระยะเวลานาน ซึ่งตัวยาเหล่านี้ส่วนในการทำให้เกิดแผลในกระเพาะและลำไส้ และในปัจจุบันนี้ยังพบว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในชั้นเมือกที่ปกคลุมกระเพาะอาหารไว้และมีส่วนสำคัญมากที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

โรคกะเพาะ , รักษาโรคกะเพาะ , สมุนไพรรักษาโรคกะเพาะ

อาการของโรคกระเพาะอาหาร

·       จะมีอาการจุกหรือแน่นบริเวณลิ้นปี่ เป็นอาการที่พบบ่อย จะเกิดขึ้นในเวลาที่หิวหรือท้องว่าง
·       มีอาการปวดหลังรับทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารรสจัด อาหารเผ็ดจัด อาหารเปรียวจัด ซึ่งสามารถบรรเทาอาการด้วยยาลดกรด
·       อาการปวดแบบเป็น ๆ หาย อาจมีช่วงเวลาที่ปวดอยู่ 1 –2 อาทิตย์ แล้วหายไปเลยเป็นหลายเดือน แล้วกลับมาปวดอีกครั้งหนึ่ง
แนวทางการรักษา และปฏิบัติตัว
            สาเหตุอย่างหนึ่งของกระเพาะอาหาร ก็เกิดจากอาหารที่เรารับทานเข้าไปนั้นเอง ดังนั้นวิธีการปฏิบัติตัวก็คือการปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหารให้ดีขึ้นในเองในช่วงที่ โรคกระเพาะอาหารกำเริบ
·       หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร รสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด น้ำอัดลม กาแฟ ของมัน ของทอด
·       งดการสูบบุหรี่ และสุรา ของมึนเมาทุกชนิด
·       งดการใช้ยาลดการอักเสบ และยาแก้ปวดทุกชนิดในช่วงนี้ หากมีความจำต้องต้องใช้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
·       ผ่อนคลายความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ
·       ทานยาลดกรด หรือยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นระยะเวลา 4-8 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย รวมทั้งยากำจัดแบคทีเรียในกระเพาะ ในกรณีที่ไปพบแพทย์แล้วตรวจพบเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร
การทำความเข้าใจโรคกระเพาะ อาหาร แนววิธีการรักษา คงจะทำให้หลาย ๆคนเลิกหวาดกลัว และทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ได้ตระหนัก  และสามารถนำแนวทางวิธีการปฏิบัติตัวและการรักษา  เพื่อในไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น